Late-stage Dementia Palliative Care Program

     การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมระยะท้ายที่ขอรับบริการจากศูนย์การุณรักษ์โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีการพัฒนาระบบการดูแลให้การพยาบาลผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะท้ายที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีมีคุณภาพชีวิตที่ดีในวาระสุดท้ายแบบประคับประคอง  โดยจัดบริการดังนี้

กลุ่มเป้าหมาย

     คือ ผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะท้าย ตั้งแต่ FAST staging 7c ขึ้นไปร่วมกับมีข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้อย่างน้อย 1ข้อ ได้แก่ มีปัญหาปอดอักเสบติดเชื้อซ้ำใน 1 ปีที่ผ่านมา, มีปัญหาการกลืนหรือให้อาหารทางสายยาง เป็นผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมระยะท้ายที่ขอรับบริการจากศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 

เกณฑ์การคัดเข้า  (inclusion criteria)

1. ผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะท้าย ระยะตั้งแต่ FAST staging 7c ขึ้นไป ร่วมกับมีข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ข้อ ได้แก่
     1) มีปัญหาปอดอักเสบติดเชื้อซ้ำใน 1 ปีที่ผ่านมา
     2) มีปัญหาการกลืนหรือให้อาหารทางสายยาง
2. ผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะท้ายที่แพทย์เจ้าของไข้ปรึกษาศูนย์การุณรักษ์
3. ครอบครัวยินดีขอรับการปรึกษาด้วยความสมัครใจ
4. ครอบครัวอนุญาตให้มีการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย

.

เครื่องมือที่ใช้ในโปรแกรมประกอบด้วย

1. แบบประเมิน Functional Assessment Staging Test (FAST) เพื่อประเมินระยะของโรคสมองเสื่อมระยะท้าย
2. แบบประเมินภาวะโภชนาการผู้ป่วยสมองเสื่อม (mini nutrition assessment: MNA) เพื่อประเมินภาวะทุพโภชนาการของผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะท้าย
3. แบบประเมินอาการทางจิตประสาทของผู้ป่วยสมองเสื่อม (Neuropsychiatric inventory :NPI) เพื่อประเมินอาการทางจิตประสาทของผู้ป่วย เป็นการประเมินความรุนแรงของอาการและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะท้าย
4. แบบประเมินภาระการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ฉบับสั้น 12 ข้อ เพื่อประเมินภาระผู้ดูแลของผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะท้าย
5. แบบประเมินอาการปวดในผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะท้าย PAINAD

 รูปแบบการให้บริการ

แบ่งเป็นกรณีรับปรึกษาจากแผนกผู้ป่วยนอก/ ผู้ป่วยในเวลาทำการ คลินิกโรคสมองเสื่อมระยะท้าย  เปิดทุกวันพฤหัสที่ 4 ของเดือน เวลา 13.00 – 16.30 น.  สถานที่ ตึก กว ชั้น 5 และการเยี่ยมบ้าน เยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมระยะท้ายวันศุกร์แรกของเดือน

     ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ได้จัดระบบการเยี่ยมบ้านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 โดยเริ่มจากพยาบาลเจ้าของไข้ลงเยี่ยมบ้านเองภายหลังจำหน่าย เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแลแบบประคับประคองมีจำนวนมาก ไม่สามารถลงเยี่ยมบ้านได้ทุกราย จึงพิจารณาตามความเหมาะสม เช่น มีอาการไม่สุขสบายที่ครอบครัวไม่สามารถจัดการเองที่บ้านได้ ผู้ป่วยเข้าสู่ระยะใกล้เสียชีวิต เป็นต้น แต่ปัญหาคือ ภาระงานพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลมีมาก และการขอรถจากหน่วยยานพาหนะของโรงพยาบาลต้องใช้เวลานาน ไม่สามารถลงเยี่ยมบ้านได้ทันทีต่อความต้องการในวาระท้าย ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 ทีมศูนย์การุณรักษ์ได้มีโอกาสไปดูงานระบบการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย palliative care ที่ประเทศมาเลเชีย และสิงคโปร์ จึงพัฒนาระบบการเยี่ยมบ้าน โดยมอบหมายให้พยาบาล 1 คน รับผิดชอบการเยี่ยมบ้าน 1 เดือน สลับหมุนเวียนกัน โดยใช้รถแท๊กซี่หรือรถส่วนตัวลงเยี่ยมบ้าน ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนผู้ป่วยระยะท้ายการุณรักษ์ สนับสนุนค่าน้ำมันรถ ต่อมามีผู้ป่วยบริจาครถยนต์ 1 คันเพื่อให้สำหรับเยี่ยมบ้านโดยเฉพาะ ปัจจุบันด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อวัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อให้การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเกิดความต่อเนื่อง และปลอดภัย ป้องกันการติดเชื้อของทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และทีมสุขภาพที่ดูแล ศูนย์ฯ จึงพัฒนาการเยี่ยมบ้านโดยใช้ระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine)

ติดต่อสอบถาม